วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ลักษณะทางพฤษศาสตร์กาแฟ

ชื่อ วิทยาศาสตร์ Coffea spp.
วงศ์ Family Rubiaceae
สกุล Genus Coffea

ราก กาแฟมีรากแก้ว และมีรากแขนงแตกออกจากรากแก้ว ประมาณ 4-8 ราก รากแขนงจะ มีรากฝอย จากรากฝอยจะมีรากแตกออกมาอีก เป็นรากสำหรับดูดอาหาร รากชนิดนี้ประมาณ 60-80% แผ่กระจายในระดับผิวดินลึกประมาณ 20 เซนติเมตร
ใบ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ก้านใบสั้น โคนใบและปลายใบเรียวแหลม ตรงกลางใบกว้าง ผิวใบเรียบ นุ่มเป็นมัน ขอบใบหยักเป็นคลื่น ขนาดใบขึ้นกับพันธุ์กาแฟ ใบเกิดที่ข้อเป็นคู่ตรงข้ามกัน ปากใบอยู่ด้านท้องใบ แต่ละใบมีปากใบประมาณสามล้านถึงหกล้านรู ปากใบของกาแฟโรบัสต้ามีขนาดเล็กกว่าอาราบิก้าแต่มีจำนวนมากกว่า อายุใบประมาณ 250 วัน
ลำต้นและกิ่ง ลำต้น (main stem) เป็นลำต้นเจริญเติบโตมาจากรากแก้ว มีลักษณะเป็นข้อและปล้อง เมื่อกาแฟต้นเล็กจะเห็นได้ชัด ใบจะอยู่ตามข้อของลำต้น เมื่อต้นโตใบจะร่วงหล่นไป ที่โคนใบมีตา 2 ชนิด คือ ตาบนและตาล่าง ตาบนจะแตกกิ่งออกมาเป็นกิ่งแขนงที่ 1 (Primary branch) เป็นกิ่งลักษณะเป็นกิ่งนอนขนานกับพื้นดินมีข้อและปล้อง แต่ละข้อของกิ่งแขนงนี้จะมีกลุ่มตาดอกที่จะติดดอกเป็นผลกาแฟต่อไป ส่วนตาล่างจะแตกออกเป็นกิ่งตั้ง (sucker) กิ่งตั้งจะตั้งตรงขึ้นไปเหมือนลำต้น ไม่ติดดอก
ผล แต่สามารถสร้างกิ่งแขนงที่สามารถให้ดอกผล เรียกเป็นกิ่งแขนงที่ 1 เช่นกัน กิ่งแขนงที่ 1 สามารถแตกกิ่งแขนงต่อไปได้อีกเป็นกิ่งแขนงที่ 2 และกิ่งแขนงที่ 2 สามารถแตกเป็นกิ่งแขนงที่ 3 ได้อีก กิ่งแขนงเหล่านี้จะเกิดในลักษณะเป็นคู่สลับเยื้องกันบนลำต้นหรือกิ่งตั้ง เมื่อตัดลำต้นกาแฟ ตาล่างบนลำต้นจะแตกกิ่งตั้งขึ้นมา กิ่งตั้งจะแตกเป็นกิ่งแขนงที่ 1,2 และ 3 สร้างดอกและผลกาแฟอีกต่อไป
ดอก ปกติดอกกาแฟเป็นดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอก 4-9 กลีบ กลีบเลี้ยง 4-5 ใบ มีเกสร 5 อัน รังไข่ 2 ห้อง แต่ละห้องมีไข่ 1 ใบ ผลกาแฟจึงมี 2 เมล็ด ดอกกาแฟจะออกเป็นกลุ่มๆ ตรงโคนใบบน ข้อของกิ่งแขนงที่ 1,2 หรือ 3 กลุ่มดอกแต่ละข้อมีดอก 2-20 ดอก ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของต้นตาดอกออกจากกิ่งแขนงจากข้อที่อยู่ใกล้ลำ ต้นออกไปหาปลายกิ่งแขนง ปกติกาแฟจะออกดอกตามข้อของกิ่ง ข้อที่ออกดอกผลแล้วในปีต่อไปจะไม่ออกดอกและให้ผลอีก

ผล ผลกาแฟลักษณะคล้ายลูก หว้ารูปรี ก้านผลสั้น ผลดิบสีเขียว สุกจะมีสีเหลือง ส้ม แดง ผลจะแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 1. เปลือก (skin) 2. เนื้อ (pulp) มีสีเหลือง เมื่อสุกมีรสหวาน 3. กะลา (parchment) ห่อหุ้มเมล็ด ช่วงระหว่างเมล็ดกับกะลาจะมีเยื่อบางๆ หุ้มเมล็ดอยู่เรียกว่า เยื่อหุ้มเมล็ด (silver skin)

 เมล็ด ผลกาแฟแต่ละผลจะมี 2 เมล็ด ลัระกบกัน ด้านที่ประกบกันอยู่ด้านในมีลักษณะแบน มีร่องตรงกลางเมล็ด 1 ร่อง ด้านนอกโค้ง


 


เมล็ดเดี่ยวหรือเมล็ดโทน (Pea bean, Pea berry) นบาง ครั้งการผสมเกสรไม่สมบูรณ์ทำให้ผลติดเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว ผลกาแฟมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียวรูปร่างกลมรีทั้งเมล็ด โดยมีร่องตรงกลาง 1 ร่อง 

(http://www.uttaradit.go.th/KM/coffee/1.htm)

   +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เกี่ยวกับกาแฟ

ต้นกาแฟ

ต้นกาแฟเป็นพืชพื้นเมืองเขตร้อนแถบแอฟริกาและเอเชียใต้  กาแฟถูกจัดให้อยู่รวมกับพืชมีดอก ของวงศ์ Rubiaceae ถูกจัดเป็นต้นไม้ประเภทไม่ผลัดใบ ต้นกาแฟสามารถสูงได้ถึง 5 เมตรถ้าไม่เล็มออก ใบของต้นกาแฟมีสีเขียวเข้มและเป็นมัน ขนาดโดยเฉลี่ยยาว 10-15 เซนติเมตร และกว้าง 6 เซนติเมตร ดอกของต้นกาแฟมีสีขาว มีกลิ่นหอม และจะบานพร้อมกันทั้งต้น ผลกาแฟมีลักษณะรียาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร  ผลกาแฟอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อสุก สีของเมล็ดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และเมื่อนำไปผึ่งให้แห้ง สีของเมล็ดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มและสีดำในที่สุด ผลกาแฟแต่ละผลจะมีเมล็ดอยู่สองเมล็ด แต่ผลกาแฟประมาณ 5-10% จะมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว เมล็ดจำพวกนี้จะเรียกว่า พีเบอร์รี่ โดยปกติแล้ว ผลกาแฟจะสุกภายในเจ็ดถึงเก้าเดือน



 

ต้นกาแฟเจริญเติบโตขึ้นได้อย่างไร

กาแฟเจริญเติบโตไปตามพื้นที่บริเวณ Tropic of Cancer และ Tropic of Capricorn พื้นที่ เพาะปลูกกาแฟนั้นมีผลอย่างยิ่งต่อรสชาติของกาแฟ ไม่ว่าจะเป็นความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพภูมิอากาศ และกระบวนการในการเพาะปลูกนั้นมีส่วนสำคัญที่ส่งให้เกิดรสชาติเฉพาะตัวของ เมล็ดกาแฟ ผู้ผลิตไวน์มักเรียกว่า รสชาติเฉพาะของพื้นที่

ภูมิภาคหลักที่ปลูกกาแฟคือ แอฟริกาตะวันออก และคาบสมุทรอราเบีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  แปซิฟิก และลาตินอเมริกา
 
สายพันธุ์

 กาแฟมีพันธุ์ใหญ่ๆ ได้อยู่ 4 กลุ่ม
     1) กาแฟพันธุ์อราบิก้า (Arabica) เป็นกาแฟที่มีความสำคัญมากที่สุด ซึ่งมีผลผลิตประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของกาแฟที่ปลูกทั่วโลก
     2) กาแฟพันธุ์โรบัสต้า (Robusta) มีความสำคัญรองลงมาจากกาแฟอราบิก้า และ คุณภาพด้อยกว่าอราบิก้า
     3) กาแฟพันธุ์เอ็กเซลซ่า (Excelsa) ไม่มีความสำคัญและปริมาณในทางการค้า เพราะคุณภาพไม่ดี มีกลิ่นเหม็นเขียว
     4) กาแฟพันธุ์ลิเบอริก้า (Liberrica) เป็นกาแฟพื้นเมืองของแองโกล่า คุณภาพสารกาแฟไม่ดีพอ ไม่เป็นที่สนใจของตลาดและนักดื่ม

กาแฟอราบิก้า แยกสายพันธุ์ต่างๆ (Arabica coffee varieties)
      
ภาพลำต้นและเมล็ดของกาแฟอาราบิก้า (Coffea Arabica)
   กาแฟอราบิก้ามีโครโมโซม ที่สามารถผสมตัวเองได้ ทำให้มีการผสมภายในสายพันธุ์ (inbreeding) โดยไม่ทำให้เกิดผลเสีย แต่อาจจะมีการแตกผ่าเหล่าขึ้นได้ เกิดเป็นสายพันธุ์ต่างๆหลายสายพันธุ์ พอแยกพันธุ์สำคัญได้ อาทิ
     - พันธุ์ทิปปิก้า (Typica)  มีลักษณะเด่นยอดเป็นสีทองแดง ติดลูกห่างระหว่างข้อ มีใบเล็กเรียบ เจริญเติมโตเร็ว แต่ไม่ทนต่อโรคฯลฯ เป็นพันธุ์ดั่งเดิมต้นกำเนิดของกาแฟอราบิก้า เริ่มปลูกในเยเมน แล้วแพร่หลายไปสู่ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย อเมริกาใต้ ฟิลิปปินส์และฮาวาย 

     - พันธุ์บลูเมาเทน (Bule Mountion)
     กลายพันธุ์มาจากพันธุ์ทิปปิก้า นำไปปลูกที่บลูเมาเทนในจาไมก้า มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมบนภูเขาที่สูง เป็นกาแฟที่มีคุณภาพและรสชาติดีมาก เป็นที่ยอมรับของตลาดผู้บริโภค ถือว่าเป็นกาแฟมีชื่อเสียงอันดับหนึ่งของโลก จึงมีราคาแพงที่สุดเช่นกัน
     - พันธุ์มอกก้า (Mocha หรือ Mokka)
     เป็นกาแฟส่งออกผ่านท่าเรือ โมช่า(Mocha) ใช้ชื่อการค้าว่า ม๊อกกา (Mokka) ใป ระเทศอินโดนีเซีย มีความแตกต่างอย่างมากจากพันธุ์ที่ปลูกในแหล่งเดิม มีเอกลักษณ์กลิ่นหอมผลไม้คล้ายโกโก้ อย่างไรก็ตามพันธุ์นี้มีผลทางเศรษฐกิจน้อยมาก เพราะมีปริมาณผลผลิตจำกัดที่ออกสู่ตลาด
     - พันธุ์โคน่า (Kona)
     เป็นที่รู้จักดีสำหรับคอกาแฟในคุณภาพและรสชาติที่ติด อันดับต้นๆของกาแฟทั่วโลก ตามรูปแบบของกาแฟพันธุ์ทิปปิก้า ได้นำมาจากเมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล มาปลูกในเมืองโคน่า ประเทศฮาวาย ภายใต้ชื่อการค้า "ฮาวายโคน่า"มีราคาที่แพงที่สุดในตลาดโลกเช่นเดียวกับ บลูเมาเทน
     กาแฟอราบิก้ายังแยกพันธุ์ผสมอื่นๆอีกเป็นจำนวนมากมาย คือ พันธุ์คาทูร่า (Catura)  พันธุ์คาทุย (Catuai) พันธุ์เบอร์บอน (Bourbon) พันธุ์เค้นส์ (Kent) ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะพิจารณาเห็นว่าเป็นชื่อจากแหล่งการเพาะปลูก หรือเมืองที่ปลูก อันมีรายละเอียดและความดีเด่น ในทุกมุมอย่างกว้างขวาง ตามข้อมูลการศึกษา-วิจัย
กาแฟอราบิก้าไทย
     - พันธุ์อราบิก้าชื่อ "คาติมอร์" (CatiMor)
     เป็นการเรียกชื่อพันธุ์มาจากคำว่า คาทูร่า (Catturra) และ ไฮบริโด เดอ ติมอร์ (Hibrido de Timor) เป็น ชื่อเรียกตามการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างคาทูร่าผลแดง เป็นต้นแม่พันธุ์ และ ไฮบริโด เดอ ติมอร์เป็นต้นพ่อพันธุ์ ผลการผสมระหว่างลูกผสมข้ามชนิด ทำให้ลูกผสมที่ได้มีความต้านทานต่อโรคราสนิม  และ ได้ลักษณะทรงเตี้ย ผลผลิตสูง และใช้หมายเลข CIFC  19/1 และ  832/1 ซึ่งกำหนดโดยนักปรับปรุงพันธุ์พืชที่ Centro de Investicao -das Ferrugens de Cafeeiro (CIFC) ในประเทศโปรตุเกส
     สถานีวิจัย CIFC ได้เริ่มแผนการปรับปรุงพันธุ์ในตอนต้นปี พ.ศ.2503 เป็นลูกผสมรุ่นที่ 1 รวมทั้งการศึกษาทดลองผสมพันธุ์กับกาแฟอราบิก้าตัวอื่นๆ อีกจำนวนมากมายหลายรุ่น  หลาย ชั่วอายุสายพันธุ์ และได้นำมาคัดเลือกความต้านทานโรคราสนิม โรคอื่นๆในเมืองไทย รวมทั้งค้นหาศักยภาพในการให้ผลผลิต และ คุณภาพที่ดี ณ โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟบนที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ของกรมวิชาการเกษตร รวมทั้งหน่วยงานพัฒนาเกษตรที่สูงหลายหน่วยงาน จนเป็นที่ยอมรับว่า พันธุ์กาแฟคาติมอร์ มีคุณภาพดีเหมาะสมแด่การส่งเสริมไปสู่แปลงปลูกของเกษตรกรชาวไทยภูเขา มาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการศึกษา-วิจัย และติดตามประเมินผล ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเจริญเติมโต การดูแลรักษา ปรับปรุงบำรุงพันธุ์ก็ยังต้องมีต่อไป
     สำหรับการคัดเลือกในการผลิตกาแฟนั้น พันธุ์ควรเป็นต้นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปี มีจำนวนผล/ข้อมาก น้ำหนักเมล็ดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 15 กรัม/100 เมล็ด


การเพาะปลูกกาแฟ
 การปลูก
- ต้นกล้าอายุตั้งแต่ 8 - 12 เดือน หรือ มีใบจริงไม่น้อยกว่า 4 - 5 คู่
- ระยะปลูก 2x2 เมตร
- ขนาดหลุมปลูก 50x50x50 เซนติเมตร
- รองก้นหลุมด้วย หินฟอสเฟต อัตรา 100 กรัม/หลุม และปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม/หลุม
- ปลูกภายใต้สภาพร่มเงา โดยใช้ไม้โตเร็ว
- สามารถปลูกร่วมกับไม้ผลยืนต้น เช่น บ๊วย ท้อ มะคาเดเมียนัท


 
ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิต


ใน ฤดูเก็บเกี่ยว ต้นกาแฟจะเต็มไปด้วยผลกาแฟ (ผลเชอรี่) สีแดงสดใส บรรจุเมล็ดกาแฟอยู่ข้างในผล เปลือกของผลกาแฟแข็ง และมีรสขม แต่เนื้อที่อยู่ภายใต้เปลือกนั้นให้รสชาติหวาน ลักษณะคล้ายองุ่น ภายใต้เนื้อก็จะมีเยื้อหุ้มเมล็ดกาแฟอยู่ เมื่อนำเยื้อหุ้มออกคุณก็จะผลกับเมล็ดกาแฟสีเขียว 2 เมล็ดที่พร้อมในการล้าง และคั่วอบต่อไป
  
  ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ผลกาแฟ

ดอกกาแฟ
ไร่กาแฟ
เมล็ดกาแฟอาราบีก้า
    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 คณะผู้จัดทำ
1. นาย นันทวัจน์  จงทวีสุขสันต์  เลขที่ 13
2. นางสาว กรวรรณ  กล่อมใจ  เลขที่ 28
3.  นางสาว ชมพูนุท  เหล่าแพทยกิจ  เลขที่ 31
4.  นางสาว  ปวภัทร  เทพาทิพวงศ์  เลขที่ 33
5.  นางสาว พีรนันท์  เหลืองหลีกภัย  เลขที่ 34   
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2

เสนอ
คุณครู อุทัยวัน โพธิศิริ

สื่อนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม (ว32243)
โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม